โพรโทคอลเเละอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โพรโทคอลและอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การสื่อสารโยผ่านระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์
จะต้องมีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์เครือข่ายชนิดต่างๆ กัน
ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกันได้โดยตรง ดังนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลที่ส่ง
และกำหนดมาตราฐานทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อให้อุปกรณ์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
อ่านต่อ
3.1 โพรโทคอล
โพรโทคอล (protocol) คือข้อตกลงอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับวิธีที่คอมพิวเตอร์จะ
จัดรูปแบบและตอบรับข้อมูลระหว่างการสื่อสาร ซึ่งโพรโทคอลจะมีหลายมาตรฐาน
และในแต่ละโพรโทคอลจะมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป
การติดต่อสื่อสารข้อมูลผ่านทางเครือข่ายนั้น
จำเป็นต้องมีโพรโทคอลที่เป็นข้อกำหนดตกลงในการสื่อสารขึ้น
เพื่อช่วยให้ระบบสองระบบที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้โพรโทคอลนี้
เป็นข้อตกลงที่กำหนดเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ
ทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูล
วิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูล
การแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง ดังนั้น
จะเห็นได้ว่าโพรโทคอลมีความสำคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่าย ซึ่งหากไม่มีโพรโทคอลระดับประยุกต์แล้ว
การดำเนินการภายในเครือข่ายยังมีโพรโทคอลย่อยที่ช่วยทำให้การทำงานของเครือข่ายมีประสิทธิภาพขึ้น
ซึ่งโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในปัจจุบันมีหลายประเภท ดังตัวอย่างเช่น
1)
โพรโทคอลเอชทีทีพี (Hyper Text Transfer Protocol : HTTP) เป็นโพรโทคอลหลักในการใช้งานเวิลด์ไวด์เว็บ
โยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นช่องทางสำหรับเผยแพร่และแลกเปลี่ยนภาษาเอชทีเอ็มแอล (Hyper
Text Markup Language : HTML) ใช้ร้องขอหรือตอบกลับระหว่างเครื่องลูกข่าย
ที่ใช้โปรแกรมค้นดูเว็บกับเครื่องแม่ข่าย (web server) โดยทำงานอยู่บนโพรโทคอลทีซีพี
(Transfer Control Protocol : TCP)
โพรโทคอล HTTP
2)
โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี (Transfer Control Protocol / Internet Protocal :
TCP/IP)
เป็นโพรโทคอลที่ใช้ในการสื่อสารในระบบอินเทอร์เน็ต โดยมีการระบุผู้รับ
ผู้ส่งในเครือข่าย และ แบ่งข้อมูลออกเป็นแพ็กเก็ตส่งผ่านไปทางอินเทอร์เน็ต
ซึ่งหากการส่งข้อมูลเกิดความผิดพลาดจะมีการร้องขอให้ส่งข้อมูลใหม่
การส่งข้อมูลโดยใช้โพรโทคอลทีซีพี/ไอพี
3)
โพรโทคอลเอสเอ็มทีพี (Simple Mail Transfer Protocol : SMTP) คือ
โพรโทคอลสำหรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) หรือเมลล์
(Email) ไปยังจุดหมายปลายทาง
4) บลูทูท (bluetooth) เป็นโพรโทคอลที่ใช้คลื่นวิทยุความถี่
2.4 GHz ในการรับส่งข้อมูล คล้ายกับระบบแลนไร้สาย
เพื่อให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ต่อพ่วงไร้สาย เช่น
เครื่องพิมพ์ เมาส์ คีย์บอร์ด
โทรศัพท์เคลื่อนที่ หูฟัง เป็นต้น เข้าด้วยกันได้สะดวก
ปัจจุบันมีโพรโทคอลในระดับประยุกต์ใช้งานมากมาย
นอกจากโพรโทคอลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เช่น การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน
ใช้โพรโทคอลชื่อเอฟทีพี (File Transfer Protocol : FTP) การโอนย้ายข่าวสารระหว่างกันใช้โพรโทคอลชื่อเอ็นเอ็นพี
(Network News Transfer Protocol : NNTP) เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ในทุกวันนี้
เป็นผลมาจากการพัฒนาโพรโทคอลต่างๆ ขึ้นใช้งาน
ซึ่งการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งจำเป็นต้องผ่านการใช้งานโพรโทคอลต่างๆหลายโพรโทคอลร่วมกัน
3.2
อุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้กลายเป็นระบบเครือข่ายได้นั้น
จะต้องอาศัยอุปกรณ์ สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (network device) ซึ่งทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลโดยผ่านทางสื่อกลาง
ไม่ว่าจะเป็นสื่อกลางแบบใช้สาย และสื่อกลางแบบไร้สาย
ซึ่งอุปกรณ์สื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้
1)
เครื่องทวนสัญญาณ (repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณดิจิทัล
แล้วส่งต่อออกไปยังอุปกรณ์ตัวอื่น เหตุที่ต้องใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณ
เนื่องจากการส่งสัญญาณไปในตัวกลางที่เป็นสัญญาณนั้น
เมื่อระยะทางมากขึ้นแรงดันของสัญญาณจะลดลงเรื่อยๆ
ทำให้ไม่สามารถส่งสัญญาณในระยะทางไกลๆได้ ดังนี้
การใช้อุปกรณ์ทวนสัญญาณจะทำให้สามารถส่งสัญญาณไปได้ไกลขึ้น โดยสัญญาณไม่สูญหาย
เครื่องทวนสัญญาณใช้เมื่อคอมพิวเตอร์อยู่ห่างกันเพื่อป้องกันไม่้สัญญาณสูญหาย
2) ฮับ (hub) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่ง
หรือเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องเข้าด้วยกัน
สัญญาณที่ส่งมาจากฮับจะกระจายไปยังทุกเครื่องที่ต่ออยู๋กับฮับ ซึ่งแต่ละเครื่องจะเลือกรับเฉพาะข้อมูลที่ส่งมาถึงตนเองเท่านั้น
3) บริดจ์ (bridge) ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายหลายเครือข่ายเข้าด้วยกัน
โดยจะต้องเป็นเครือข่ายที่ใช้โพรโทคอลเดียวกัน
ซึ่งมีความสามารถมากกว่าฮับและอุปกรณ์ทวนสัญญาณ คือ สามารถกรองข้อมูลที่ส่งต่อได้
โดยการตรวจสอบว่า ข้อมูลที่ส่งนั้นปลายทางอยู่ที่ใด
หากเครื่องปลายทางอยู่ภายในเครือข่ายเดียวกันกับเครื่องส่ง
ก็จะส่งข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายเดียวกันเท่านั้น ไม่ส่งไปยังเครือข่ายอื่น
แต่หากข้อมูลมีปลายทางอยู่ที่เครือข่ายอื่น ก็จะส่งข้อมูลไปในเครือข่ายที่มีเครื่องปลายทางอยู่เท่านั้น
ทำให้สามารถจัดการกับความหนาแน่นของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4)
อุปกรณ์จัดหาเส้นทาง (router) สามารถกรองข้อมูลได้เช่นกับบริดจ์
แต่จะมีความสามารถมากกว่า โดยจะหาเส้นทางในการส่งกลุ่มข้อมูล (data packet)
ไปยังเครื่องปลายทางในระยะทางที่สั้นที่สุดได้
5) สวิตซ์ (switch) นำความสามารถของฮับกับบริดจ์มารวมกัน
แต่การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งจะไม่กระจายไปยังคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเหมือนกับฮับ
เพราะสวิตซ์จะทำหน้าที่รับกล่มข้อมูลมาตรวจสอบก่อนว่าเป็นของคอมพิวเตอร์เครื่องใด
แล้วนำข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์เป้าหมาย ซึ่งช่วยลดปัญหาการชนกันหรือความคับคั่งของข้อมูล
6) เกตเวย์ (gateway) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ
เข้าด้วยกันไม่ว่าเครือข่ายนั้นจะใช้โพรโทคอลตัวใดก็ตาม
เนื่องจากเกตเวย์สามารถแปลงรูปแบบแพ็คเก็ตของโพรโทคอลหนึ่งไปเป็นรูปแบบของอีกโพรโทคอลหนึ่งได้
เพื่อให้เหมาะสมกัยการใช้งานในเครือข่าย ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ
ได้อย่างไม่มีข้อจำกัด
แต่ในปัจจุบันนี้ได้รวมการทำงานของเกตเวย์ไว้ในอุปกรณ์จัดเส้นทาง (router) แล้วทำให้อุปกรณ์จัดเส้นทางสามารถทำงานเป็นเกตเวย์ได้ ดังนั้น
จึงไม่จำเป็นต้องซื้อเกตเวย์อีก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น